เด็กจบใหม่ ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจเลือกงาน

เด็กจบใหม่ ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจเลือกงาน การเลือกสถานที่ทำงาน หลายคนมักมองเรื่องผลตอบแทน อย่างเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นหลัก แต่สิ่งนี้อาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของการทำงานที่แท้จริงก็ได้ เพราะการทำงานต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อม เพื่อนร่วมงาน การเดินทาง และอื่น ๆ อีกมากมาย

แต่ไม่ว่าจะเลือกสถานที่ทำงานด้วยเหตุผลอะไร ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้สมัครงาน สำหรับเด็กจบใหม่หลายคนมีปัจจัยในการเลือกงาน และเลือกองค์กรแบบเป็นกิจจะลักษณะ เนื่องจากการเลือกงานก็เหมือนกับการเดินบนเส้นเชือก หากตัดสินใจผิดพลาดเพียงนิดเดียว อาจเสียเวลาไปเปล่า ๆ อีกทั้งผลที่ตามมาจากการเลือกงานผิด ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตลามไปถึงความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับคนรอบข้างด้วย และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ว่า ก่อนตัดสินใจเลือกงานหรือเลือกอาชีพ ต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะครึ่งหนึ่งของชีวิตคุณจะถูกใช้ไปกับการทำงาน และอาจสูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

สารบัญ

 

เด็กจบใหม่ ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจเลือกงาน

เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่มีความมั่นใจในตัวเองสูง กล้าคิด กล้าเสี่ยง ให้ความสำคัญกับโอกาสในการแสดงฝีมือ รวมถึงการพัฒนาตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ ซึ่งหากได้รับคำแนะนำเชิงบวกจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการทำงาน นอกจากนี้ เด็กจบใหม่หลายคนชอบทำงานในบรรยากาศที่สนุกสนาน และเป็นกันเอง เพราะฉะนั้น มาดูกันว่า เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันมีเกณฑ์อะไรในการพิจารณาเลือกงาน และองค์กรที่จะทำงานบ้าง

 

1. เลือกงานจากเงินเดือน

เด็กจบใหม่ ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจเลือกงาน

ผลตอบแทนจากการทำงานล้วนเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ วันอยากตั้งใจทำงาน และแน่นอนว่า ทุกคนต้องโฟกัสที่เรื่องของค่าตอบแทนเป็นสำคัญอยู่แล้ว เพราะเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเดือน ไม่ว่าจะค่าผ่อน (เช่า) บ้าน, ค่าผ่อนรถ, ค่ากิน, ค่าเดินทาง, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์, จ่ายหนี้ ฯลฯ และบริษัททุกแห่งต่างเลือกให้ค่าตอบแทนอย่างสมเหตุสมผลกับทั้งตำแหน่งงาน ภาระหน้าที่การทำงาน ค่าครองชีพ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

 

2. เลือกงานจากสวัสดิการ

เด็กจบใหม่ ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจเลือกงาน

นอกจากเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว คนทำงานยังสนใจเรื่องสวัสดิการที่บริษัทจะเสนอให้ด้วยเช่นกัน สวัสดิการช่วยสร้างความสะดวก ความมั่นคง ในการทำงาน รวมไปถึงทำให้การดำเนินชีวิตดีขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประกันภัย ประกันชีวิต เงินสบทบเมื่อเกษียณอายุ ค่าล่วงเวลา โบนัส หรืออื่น ๆ ดังนั้น ในส่วนนี้จึงเป็นสิทธิประโยชน์ที่คนทำงานให้ความสำคัญเป็นพิเศษก่อนตัดสินใจทำงาน

 

3. เลือกงานจาก โอกาสในการก้าวหน้า

เลือกงานจาก โอกาสในการก้าวหน้า

เด็กจบใหม่มักมองหาโอกาสดี ๆ นอกเหนือจากเงินเดือนและสวัสดิการ นั่นก็คือโอกาสความก้าวหน้าและพัฒนาตนเองกับบริษัทนั้น ๆ ซึ่งในบางบริษัทมีนโยบายพิเศษสนับสนุนโอกาสในการศึกษาต่อ หรือส่งพนักงานไปฝึกอบรม สัมมนาต่าง ๆ เฉพาะทาง โดยเป้าหมายหลัก ๆ เพื่อให้พนักงานนำความรู้กลับมาทำประโยชน์ให้แก่องค์กร แต่ในส่วนนี้ก็ทำให้พนักงานได้ความก้าวหน้าในอาชีพ สามารถต่อยอดความรู้เพื่อนำมาพัฒนาตนเองและในการทำงานต่อไปได้

 

4. เลือกงานจาก Work from Home

เด็กจบใหม่ ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจเลือกงาน

การทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือทำงานที่ไหนก็ได้ กลายเป็นความต้องการอยากมีอิสระในการทำงาน เพื่อความยืดหยุ่น รวมถึงยังประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และไม่ต้องเจอเรื่องปัญหาภายในออฟฟิศ หรือเรื่องที่ไม่สบอารมณ์ระหว่างเดินทาง

 

5. เลือกงานที่ทำให้ความสมดุลกับชีวิต

เลือกงานที่ทำให้ความสมดุลกับชีวิต

Work-life Balance คือ แนวคิดเกี่ยวกับการปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการทำงานหนักเกินไป ซึ่งมีประโยชน์สำหรับคนยุคใหม่ ทั้งที่ทำงานประจำและอาชีพอิสระ ช่วยให้มีความสุขกับชีวิตมากขึ้น เพราะการทำงานหนักมาอย่างต่อเนื่องอาจสร้างผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน

 

6. เลือกงานจากชั่วโมงการทำงาน

เลือกงานจากชั่วโมงการทำงาน

ชั่วโมงในการทำงาน มีความสำคัญต่อการจัดสรรเวลาความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ซึ่งชั่วโมงการทำงานของบริษัทส่วนใหญ่อยู่ที่ 8-9 ชั่วโมง แต่สิ่งที่จะต้องแน่ใจก่อนก็คือ พนักงานจะไม่โดนบริษัทเอาเปรียบเวลาการทำงาน เพราะมันมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่ในสัญญางานและเรื่องของค่าล่วงเวลา ซึ่งการอยู่เคลียร์งานหลังเลิกงาน อาจต้องมีการพูดคุยตกลงกันอีกที

 

7. เลือกงานจากวัฒนธรรมองค์กร

เลือกงานจากวัฒนธรรมองค์กร

เด็กจบใหม่หลายคนมองหาบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เข้มงวด ไม่ซับซ้อนเกินไป เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร คือสภาพแวดล้อมทั้งหมดของการทำงาน มีผลต่อความสุขในชีวิตการทำงาน ฉะนั้น ต้องอาศัยการศึกษาข้อมูลของบริษัทแห่งนั้นอย่างละเอียดว่า อัตราการลาออกของพนักงานเป็นอย่างไร และบริษัทมีนโยบายเชื่อมความสัมพันธ์กลุ่มพนักงานบ่อยแค่ไหน เป็นต้น

 

8. เลือกงานที่มีความหมาย

เลือกงานที่มีความหมาย

หากเลือกทำงานที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายในชีวิตได้ โดยเฉพาะแรงจูงใจหรือแรงผลักดันในการทำงาน รวมไปถึงการมีโอกาสแสดงศักยภาพและฝีมือให้เป็นที่ยอมรับ เมื่อผลงานเป็นที่น่าพอใจ ได้รับการชมเชย จะช่วยกระตุ้นให้มีกำลังใจทำงานให้ดีต่อไป ยิ่งผลงานประสบความสำเร็จแค่ไหน ได้รับการยอมรับมากเท่าไร งานนั้นก็ยิ่งมีความหมายและมีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ทำงานทุกคน

 

9. เลือกงานจากความชอบ

เลือกงานจากความชอบ

เด็กรุ่นใหม่เล็งเห็นผลลัพธ์จากสภาพสังคมที่มีการแข่งขันสูง ดังนั้น การทำงานที่ไม่ชอบหรือมีความไม่ถนัด อาจทำให้ระหว่างการทำงานเกิดความกดดันขึ้น ส่งผลให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เสี่ยงต่อการถูกตำหนิและมีผลต่อการทำงานในอนาคต และไม่สามารถแข่งขันกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้ ดังนั้น จำเป็นต้องเลือกงานจากความชอบ หรือความถนัด เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อให้ได้รับคำชม และให้ความถนัดนั้นให้กลายเป็นความก้าวหน้าในอนาคต

 

10. เลือกงานจากหัวหน้า-ทีมงาน-เพื่อนร่วมงาน

เลือกงานจากหัวหน้า-ทีมงาน-เพื่อนร่วมงาน

สิ่งสำคัญที่สุดของการทำงานก็คือ หัวหน้า ทีมงาน และเพื่อนร่วมงาน เพราะคนทำงานร่วมกันต้องสามารถปรับจูนกันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานด้วย ดังนั้น จึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกลาออก ด้วยสาเหตุของเพื่อนร่วมงาน และก็กลายเป็นสิ่งที่เด็กจบใหม่หลาย ๆ คนมักโฟกัสก่อนตัดสินใจเลือกงานบริษัทไหนสักแห่ง

บทความแนะนำ

สรุป

แต่ไม่ว่า เด็กจบใหม่จะใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกงาน สิ่งสำคัญงานประเภทนั้นต้องตอบรับและตรงตามความต้องการของตัวเองให้มากที่สุด โดยทุกคนต้องรู้ก่อนว่า เป้าหมายของชีวิต และความต้องการสำหรับการสมัครงานสักแห่งคืออะไร เพราะฉะนั้น ในช่วงที่กำลังหาตัวตนสามารถเข้ามาฝากประวัติส่วนตัว เรซูเม่ผ่าน JOBKUB ก่อนได้ และเลือกสมัครงานผ่านเว็บไซต์นี้ได้ทันที ที่สำคัญค้นหางานที่ใช ได้งานที่ชอบ แบบไม่มีขีดจำกัด

JOBKUB

ฝากความคิดเห็น